วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มาเขียน HTML กันเถอะ...

ขั้นตอนการเขียน HOMEPAGE
1. นักเรียนค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด
2. นักเรียนค้นคว้าจาก WEBPAGE ของโรงเรียน
3. นักเรียนค้นคว้าจาก WEBPAGE อื่นๆ
4. นักเรียนศึกษาวิธีการเขียน WEBPAGE
5. นักเรียนเขียน WEBPAGE ด้วยตนเอง
วิธีเขียน
1. เขียนใน Notepad โดยพิมพ์ตามใบงาน ตามลำดับ
2. Save File ด้วยสกุล htm
3. แสดงผลใน WebBrowser
--------------------------------------------------------------------------------
โครงแบบของเอกสาร
........ คือรหัสกำกับที่บอกว่าเอกสารนี้เป็นเอกสารประเภท HTML
........ คือรหัสกำกับบอกส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร
คือรหัสบอกหัวเรื่องของเอกสาร (จะปรากฏบน titlebar)
มักจะวางอยู่ในคำสั่ง ........
....... คือรหัสกำกับบอกส่วนที่เป็นเนื้อหาของเอกสาร
[ ใบงานที่1]




















การจัดหน้า และรูปแบบเอกสาร
คือรหัสสำหรับขึ้นบรรทัดใหม่


คือรหัสสำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ และเว้น 1 บรรทัด
คือรหัสสำหรับเส้นคั่นแนวนอน 1 เส้น
สามารถเพิ่มความหนาได้จากการ พิมพ์


[ ใบงานที 2]





















การทำรูปลักษณ์ของตัวอักษร
.....
เมื่อ n = 1, 2, .., 6 คือรหัสสำหรับการระบุหัวข้อ และขนาดตัวอักษรของ
หัวข้อ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 6 ขนาด ระบุโดยใช้ตัวเลข 1
ถึง 6 โดย

จะเป็นหัวข้อขนาดใหญ่ที่สุด และ
จะเป็นหัวข้อที่มีขนาดเล็กที่สุด
..... คือรหัสกำกับตัวอักษรหนา
...... คือรหัสกำกับตัวอักษรเอน
..... คือรหัสกำกับการขีดเส้นใต้ข้อความ หรือคำ
[ ใบงานที 3]












การทำรายการ
คือรหัสสำหรับกำกับสิ่งที่เป็นรายการในแต่ละรายการ
โดยจะมีรหัสกำกับกลุ่มรายการบอกลักษณะรูปแบบของการแสดงรายการ คือ
คือรหัสสำหรับทำรายการเรียงตัวเลข

คือรหัสสำหรับแจงรายการแบบไม่ระบุลำดับ โดยมีลูกปืน
นำหน้า
คือรหัสสำหรับทำรายการคำอธิบาย ซึ่งประกอบด้วย
หัวข้อเรื่อง และคำอธิบายเรื่อง โดยในแต่ละหัวข้อ จะมี
รหัสกำกับด้วย
คือคำอธิบายหรือข้อความที่ขยายประกอบแต่ละหัวเรื่อง
ซึ่งสามารถมีได้มากกว่าหนึ่งชุด
[ ใบงานที 4]
















การเชื่อมโยงเอกสาร การเชื่อมโยงเอกสารนั้นจะเป็นแฟ้มข้อมูลอะไรก็ได้ ไม่จำกัดเฉพาะข้อมูล ประเภทข้อความเท่านั้น ประเภทภาพนิ่งที่มีสกุล .gif .jpg ภาพเคลื่อนไหวสกุล .mpg หรือ .mov หรือแฟ้มเสียงที่มีสกุล .au, .wav, .ra ก็ได้ การแสดงหรือดูข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีโปรแกรมผู้ช่วยเข้ามาทำหน้าที่ช่วยอ่าน ข้อมูล โดยใช้คำสั่ง [ ใบงานที 5]
















การแสดงภาพในเอกสาร ไฟล์รูปภาพ โดยทั่วไปจะใช้ไฟล์รูปมาตรฐาน 2 ชนิด คือ gif และ jpg และการ ใส่ภาพทำได้ โดยใช้คำสั่ง และสามารถกำหนดการจัด การเกี่ยวกับรูปภาพ โดยเพิ่มรหัสคำสั่ง ALT = ... คือรหัสแทนที่รูปภาพด้วยข้อความ เพื่อแสดงข้อความเกี่ยว กับรูปภาพก่อนที่จะโหลดรูปภาพนั้น ALIGN = ... เป็นรหัสระบุตำแหน่งของภาพนั้น เทียบกับแนวบรรทัด ของข้อความ top คือ ส่วนบนของภาพ middle คือ ส่วนกลางของภาพ bottom คือ ส่วนล่างของภาพ WIDTH = ... เป็นรหัสสำหรับกำกับขนาดของภาพ โดยระบุเป็น pixels หรือเปอร์เซนต์ของขนาดภาพจริง HEIGHT = ... เป็นรหัสสำหรับกำกับความสูงของภาพโดยระบุเป็น pixels หรือเปอร์เซนต์ของขนาดภาพจริง HSPACE = ... เป็นรหัสสำหรับกำกับช่องว่างด้านข้างทั้งซ้าย และขวาของ รูปภาพ โดยกำหนดเป็น pixels VSPACE = ... เป็นรหัสสำหรับกำกับช่องว่างด้านบน และล่างของรูปภาพ โดยกำหนดเป็น pixels BOARDER = ... เป็นรหัสกำกับขอบของรูปภาพ [ ใบงานที 6]






















การสร้างตาราง
เป็นรหัสกำกับสำหรับการใช้สร้างตาราง โดยเริ่มจากการ
กำหนดแถว คอลัมน์ และเซลล์
..... เป็นรหัสสำหรับเริ่มต้น และจบเนื้อหาในแต่ละแถว
...... เป็นรหัสสำหรับเริ่มต้นใส่ข้อมูลลงในเซลล์
......... เป็นรหัสสำหรับใช้ในการสร้างหัวข้อ
BORDER = ... เป็นรหัสกำกับการทำกรอบของตารางด้านนอกให้หนาขึ้น
ด้วยการระบุเป็น pixels
CELLPADDING = ... เป็นรหัสกำกับการทำขอบของตารางด้านในให้หนาขึ้นด้วย
การระบุเป็น pixels
CELLSPACING = ... เป็นรหัสกำกับช่องว่างระหว่างตัวอักษรในตาราง และขอบ
ALIGN = ... เป็นรหัสกำหนดตำแหน่งของตัวอักษรในตารางจากขอบ
ด้านในตารางโดยระบุ left right และ center
VALIGN = ... เป็นรหัสกำหนดตำแหน่งของตัวอักษรจากขอบบนในตาราง
โดยระบุ top bottom และ middle
[ ใบงานที 7]



















การกำหนดสี
สามารถทำได้โดยการเพิ่มคำสั่งต่อไปนี้ ใน TAG ของ BODY
BGCOLOR = ... เป็นการกำหนดสีพื้น
TEXT = ... เป็นการกำหนดสีของตัวหนังสือ
LINK = ... เป็นการกำหนดสีของตัวอักษรเชื่อมระหว่างหน้า
VLINK = ... เป็นการกำหนดตัวอักษรเชื่อมระหว่างหน้าที่ไปเยี่ยมชมแล้ว
BACKGROUND = ... เป็นการกำหนดการใช้ภาพแทนสีพื้น
[ ใบงานที 8]


















การทำแบบฟอร์ม
[ ใบงานที 9]



















การแบ่งหน้าจอเป็น Frame
[ ใบงานที 10]






























วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หลักการออกแบบเว็บเพจ

ในการออกแบบเว็บไซต์เราต้องคำนึงถึงในหลาย ๆ อย่าง เนื่องจากเว็บที่เราทำขึ้นมานั้นจะมีผู้ชมที่หลากหลาย ใช้โปรแกรมในการเปิดชมหน้าเว็บที่แตกต่างกัน รวมถึงการกำหนดขนาดหน้าจอ ความเร็วอินเตอร์เน็ต และการตั้งค่าที่แตกต่างกัน การที่จะให้เว็บของเราแสดงผลได้ดีในลักษณะที่แตกต่างกันนี้จึงค่อนข้างยาก ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์จึงต้องคำนึงถึงดังต่อไปนี้
1.เนื้อหาเว็บคือสิ่งสำคัญที่สุด ( Content is King ) การที่เว็บของคุณจะมีผู้เข้าชมมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหาของเว็บคุณ ว่ามีเนื้อหา สาระ น่าสนใจมากแค่ไหน แม้ว่าคุณจะออกแบบหน้าเว็บให้สวยงามมากแค่ไหน หากเนื้อหาในเว็บของคุณไม่น่าสนใจ หรือดึงดูดให้ผู้เยี่ยมชมอยากกลับมาเข้าชมเว็บคุณอีก ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะจุดประสงค์หลักของเว็บไซต์คือการให้ข้อมูลกับผู้เยี่ยมชม การที่จะมีผู้เยี่ยมชมเว็บคุณมากแค่ไหนจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลของคุณเองว่าน่า สนใจตรงตามความต้องการของผู้เยี่ยมชมมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ควรตรวจสอบข้อมูลให้มีความถูกต้องทันสมัยอยู่เสมอ ควรมีการกรั่นกรองเนื้อหาของเว็บด้วย อาจจะยึดหลักว่ามีเนื้อหาน้อยแต่เป็นเนื้อหาที่ถูกต้องสมบูรณ์ดีกว่ามีเนื้อหามากแต่เป็นเนื้อหาที่ล้าสมัยหรือไม่มีประโยชน์
2.การออกแบบจัดวางเนื้อหา และส่วนประกอบต่าง ๆ ควรคำนึงถึงความเป็นระเบียบ สะดวกในการใช้งาน เนื่องจากเมื่อเว็บมีข้อมูลมากขึ้นหากจัดวางข้อมูลไม่เป็นระเบียบจะทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ยาก
3.ความเป็นมาตรฐานของโค้ดคำสั่ง เราต้องใช้โค้ดคำสั่งที่เป็นมาตรฐานที่โปรแกรมสำหรับเปิดเว็บทุกตัวต้องเข้าใจ ไม่ใช่ว่าใช้โค้ดที่เข้าใจเฉพาะโปรแกรมตัวใดตัวหนึ่ง ผู้ที่ใช้โปรแกรมเปิดเว็บตัวอื่นก็จะไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
4.ขนาดพื้นที่หน้าจอที่เหมาะสม เราต้องกำหนดขนาดพื้นที่หน้าจอที่สามารถเปิดชมในขนาดหน้าจอที่แตกต่างกันได้ โดยไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก เราควรทดสอบในขนาดพื้นที่หน้าจอหลาย ๆ ขนาด
5.ขนาดข้อมูลของแต่ละหน้าไม่ควรมากเกินไป แต่ละหน้าเว็บไม่ควรใส่ข้อมูลเข้าไปเยอะเกินความจำเป็นเพราะจะทำให้เปิดหน้าเว็บได้ช้า ขนาดรูปภาพควรจะให้เล็กที่สุดที่เราสามารถมองได้ชัด และแสดงรายละเอียดได้ครบถ้วน
6.การจัดวางข้อมูลในแต่ละหน้าไม่ควรมีหลายส่วนเกินไป ในหน้าเว็บไม่ควรจะสร้างหลายคอลัมน์เกินไป และไม่ควรที่จะใส่อะไรย่อย ๆ ไปมากหลาย ๆ จุด เพราะจะทำให้ดึงความสนใจจากผู้ใช้ไปจากข้อมูลหลักที่เราต้องการแสดง ลองนึกถึงเว็บที่มีหลายคอลัมน์ แต่ละคอลัมน์ก็จะมีกรอบย่อย ๆ เรียงรายลงมา เมื่อเราเข้าไปแล้วจะเกิดความสับสนไม่รู้ว่าจะอ่านตรงไหนก่อนดี จนบางครั้งขี้เกียจดูปิดเว็บนั้นไปเลยก็มี โดยทั่วไปแล้วหน้าเว็บไม่ควรจะมีเกิน 3 คอลัมน์ ส่วนของข้อมูลหลักที่ต้องการแสดงต้องกำหนดให้มีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนคอลัมน์อื่น ๆ ก็ไม่ควรมีกล่องย่อยมากเกินไป
7.ข้อมูลที่มีการเพิ่มใหม่ หรือปรับปรุงใหม่ ควรจะแสดงเป็นส่วนหนึ่งของหน้าแรก แต่ไม่ควรแสดงทั้งหมด ต้องกำหนดจำนวนที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เข้าชมเห็นการเปลี่ยนแปลงได้สะดวกว่ามีอะไรเพิ่มเติม หรือปรับปรุงใหม่บ้าง
8.ไม่ควรใส่ Script คำสั่งเพื่อใส่ลูกเล่นให้กับเว็บมากเกินไป Script สำหรับตกแต่งหน้าเว็บอาจจะทำให้เว็บดูสวย ดูดีขึ้น แต่ก็ทำให้เปิดเว็บได้ช้าลง เครื่องทำงานหนักขึ้น ผู้เข้าชมอาจจะชอบในตอนแรกแต่พอเจอทุกทีที่เข้าเว็บแล้วทำให้เครื่องอืดก็อาจจะเบื่อหน้าเว็บนั้นได้เหมือนกัน ส่วนใหญ่ที่เจอเว็บลักษณะนี้จะเป็นเว็บของผู้ที่เริ่มศึกษาการทำเว็บไซต์ เช่น นักเรียน นักศึกษา เนื่องจากความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองใช้คำสั่ง Script หรือลูกเล่นที่คิดว่าน่าสนใจ สุดท้ายเมื่อเขาเข้าใจการทำเว็บมากขึ้นก็จะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของลูกเล่นมากนัก แล้วก็จะเข้าใจว่าเนื้อหาและการจัดการมีความสำคัญมากกว่า ควรออกแบบเว็บให้มีความเรียบง่าย เน้นในด้านเนื้อหา ความสามารถของระบบการจัดการเว็บ เพื่อความสะดวกของผู้เข้าชม และช่วยให้เราดูแลเว็บได้ง่ายขึ้น
9.ควรเลือกสีที่มองดูแล้วสบายตา รวมถึงขนาดของตัวหนังสือต้องไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมสามารถอ่านเนื้อหาต่าง ๆ ได้อย่างสบายตา
มาจากเว็บhttp://www.thaisolution.net/component/content/article/35-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95/10-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99?directory=43

หลักเกณฑ์ในการเลือกภาพ Graphic

หลักเกณฑ์ในการเลือกภาพ Graphic

ขนาดไฟล์ไม่ควรเกิน 80 กิโลไบต์ เพื่อความรวดเร็วในการแสดงผล
vช้ไฟล์แบบ JPEG สำหรับรูปถ่าย หรือรูปที่มีสีเกิน 256 สี
ใช้ไฟล์แบบ GIF สำหรับภาพวาดหรือภาพการ์ตูนที่มีสีไม่เกิน 256 สี
เลือกภาพที่มีความน่าสนใจและดึงดูด เพื่อไม่ให้เสียเวลาที่เสียไปในการ Download
ภาพเปล่าประโมจากเว็บhttp://www.google.co.th/search?hl=th&q=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E+Graphic&meta=&aq=f&oq=

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ
การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ

การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ข้อมูลที่จะใช้นำเสนอในเอกสารเว็บ ความพึงพอใจของผู้ที่ทำการสร้าง ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องการให้เป็นผู้อ่านเอกสารเว็บเหล่านั้น และควรออกแบบให้มีลูกเล่นที่หลากหลาย มีสีสันสดใสเป็นที่น่าสนใจ การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจนั้นควรมีการวางแผนก่อนการพัฒนาเสมอ เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นระบบที่หลากหลาย

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ
ลำดับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาเว็บเพจ สามารถจำแนกเป็นลำดับขั้นตอนได้ดังนี้
1. การวางแผนพัฒนาเว็บเพจ
2. กำหนดโฟรเดอร์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจ
3. จัดหาภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและจัดเก็บไว้ในโฟร์เดอร์ที่กำหนดไว้
4. สร้างเอกสารเว็บโดยกำหนดชื่อของแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บให้เป็นไปตามข้อกำหนดและ
จัดเก็บเอกสารไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดไว้
5. ตรวจสอบผลเอกสารเว็บผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
6. ข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย Server และทำการตรวจสอบผลการ
เรียกดูเอกสารเว็บที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจ
การสร้างเว็บเพจ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการออกแบบให้ดีก่อน นอกจากความสวยงามแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
1. มีสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการ
3. เนื้อหากระชับ สั้น ทันสมัย
4. สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ทันท่วงที
5. มีรูปภาพประกอบการนำเสนอที่ดี ไม่ควรมีรูปภาพมากเกินไป
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
7. ใช้งานง่าย
8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน

การวางแผนพัฒนาเว็บเพจ
การวางแผนพัฒนาเว็บเพจนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญตอนหนึ่ง เนื่องจากเอกสารเว็บที่สร้างขึ้นนั้นจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีจุดเชื่อมโยง Link เป็นจำนวนมาก หาก ไม่มีการวางแผนไว้ก่อนจะทำให้การปรับปรุงและพัฒนาในภายหลังเกิดปัญหาขึ้นได้ง่าย ตัวอย่างงเช่นแฟ้มข้อมูลมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถจดจำชื่อของแฟ้มข้อมูลที่เคยสร้างไว้แล้วได้ ซึ่งจะส่งผลให้การทำการเชื่อมโยงเอกสารเกิดปัญหาขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวนี้ควรมีการวางแผนและออกแบบเอกสารเว็บบนกระดาษ และทำการกำหนดชื่อแฟ้มข้อมูล ของแต่ละเอกสารเว็บให้ เรียบร้อย จะทำให้ผู้ที่ทำการสร้างเว็บเพจสามารถมองเห็นภาพ การไหลของข้อมูล Data Flow ภายในเว็บเพจได้ชัดเจน และสามารถทำการพิจารณา ต่อได้วว่าเอกสารเว็บแต่ละแฟ้มข้อมูลนั้นมีความสัมพันธ์กับเอกสารอื่น และสัมพัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บ

ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจ
1. แบบลำดับชั้น เป็นการจัดแสดงหน้างเอกสารเว็บในลักษณะเรียงลำดับกันเป็นกิ่งก้าน
เหมือนกับต้นไม้
2. แบบเชิงเส้น เป็นการจัดแสดงหน้าเอกสารเว็บ โดยเรียงต่อเนื่องกันในทางเดียวกัน
3. แบบผสม เป็นการจัดเรียงหน้าของเอกสารเว็บโดยการผสมผสานระหว่างแบบลำดับชั้น
และแบบเชิงเส้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กันผู้ที่ออกแบบเว็บเพจ

การวางแผนสร้างเว็บเพจ
1. ควรมีรายการสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
การเข้ามาในเว็บเพจนั้นเปรียบเสมือนการอ่านหนังสือ วารสารหรือตำราเล่มหนึ่ง การที่ผู้ใช้จะเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ ผู้สร้างควรแสดงรายการทั้งหมดที่เว็บเพจนั้นมีอยู่ให้ผู้ใช้ทราบ โดยอาจจะทำอยู่ในรูปแบบของสารบัญ หรือการเชื่อมโยง การสร้างสารบัญนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลภายในเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด
การสร้างจุดเชื่อมโยง นั้นสามารถจัดทำในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพก็ได้ แต่ควรที่จะแสดงจุดเชื่อมโยงให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และที่นิยมสร้างกันนั้น โดยส่วนใหญ่เมื่อมีเนื้อหาตอนใดเอ่ยถึงส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกันก็จะสร้างเป็นจุดเชื่อมโยงทันที นอกจากนี้ ในแต่ละเว็บเพจ ที่สร้างขึ้นมาควรมีจุดเชื่อมโยงกลับมายังหน้าแรกของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่ด้วย ทั้งนี้เผื่อว่าผู้ใช้เกิดหลงทางและไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี จะได้มีหนทางกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่
3. เนื้อหากระชับ สั้นและทันสมัย
เนื้อหาที่นำเสนอกับผู้ใช้ควรเป็นเรื่องที่กำลังมีความสำคัญ อยู่ในความสนใจของผู้คนหรือเป็นเรื่องที่ต้องการให้ผู้ใช้ทราบ และควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
ควรกำหนดจุดที่ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำกับผู้สร้างได้ เช่น ใส่อีเมล ของผู้ทำ ลงในเว็บเพจ โดยตำแหน่งที่เขียนควรเป็นที่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุดของเว็บเพจนั้นๆ ไม่ควรเขียนแทรกไว้ที่ตำแหน่งใดๆ ของจอภาพ เพราะผู้ใช้อาจจะหาไม่พบก็ได้
5. การใส่ภาพประกอบ
ควรใช้รูปภาพที่สามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้รูปภาพเพื่อเป็นพื้นหลัง ไม่ควรเน้นสีสันที่ฉูดฉาดมากนัก เพราะอาจจะไปลดความเด่นชัดของเนื้อหา ควรใช้ภาพที่มีสีอ่อนๆ ไม่สว่างจนเกินไป ตัวอักษรที่นำมาแสดงบนจอภาพก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกขนาดที่อ่านง่าย ไม่มีสีสันและลวดลายมากเกินความจำเป็น และที่สำคัญไม่ควรมีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เนื้อหาสาระของเว็บเพจนั้นถูกลดความสำคัญลง
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
การสร้างเว็บเพจนั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้ามาชมและใช้บริการของเว็บเพจที่สร้างขึ้น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนย่อมทำให้ผู้สร้างสามารถกำหนดเนื้อหา และเรื่องราวเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากกว่า
7. ใช้งานง่าย
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการสร้างเว็บเพจคือ จะต้องใช้งานง่าย เนื่องจากอะไรก็ตามถ้ามีความง่ายในการใช้งานแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมสูงขึ้นตามลำดับ และการสร้างเว็บเพจ ให้ง่ายต่อการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของผู้สร้างแต่ละคน
8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เว็บเพจที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น อาจจะมีจำนวนข้อมูลมากมายหลายหน้า การทำให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความสับสนกับข้อมูลนั้น จำเป็นต้องกำหนดข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ไป หรือจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบน่าใช้งาน

ที่มาhttp://anntaro.blogspot.com/2008/10/blog-post_9468.htmlhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=187783http://www.pm.ac.th/vrj/web/disign.htm

ความหมายของ Website , Webpage , Homepage , URL , Browser , HTML , FTP , Web server , Domain name

เว็บไซต์ (อังกฤษ: website, web site, Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์
มาจากเว็บhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C
เว็บเพจ (webpage) หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน
โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย
โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
มาจากเว็บhttp://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88
โฮมเพจ (HomePage) หมายถึง เว็บเพจหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และจะบันทึกไฟล์เป็นนามสกุล.html หรือ .htm ชื่อไฟล์เป็น index เช่น index.html
มาจากเว็บhttp://www.krumali.com/e-learning/word.html
URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator หมายถึงที่อยู่
(Address) ของข้อมูลต่างๆในอินเตอร์เน็ต ซึ่งรูปแบบของ URL จะ
ประกอบด้วย
1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www/urlbookmarks)
3. ประเภทของเว็บไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท คือ
3.1 ประเภทสากลเช่น
.com (Commercial)
.edu (Educational)
.org (Organizations)
.net (Network)ฯลฯ
3.2 ประเภทท้องถิ่นจะมีชื่อย่อของแต่ละประเทศต่อท้ายด้วยเช่น
.th สำหรับประเทศไทย เช่น co.th, or.th, go.th ฯลฯ
.cn สำหรับประเทศจีน
.in สำหรับประเทศอินเดีย
.jp สำหรับประเทศญี่ปุ่นฯลฯ
มาจากเว็บhttp://pirun.kps.ku.ac.th/~b5027065/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2019%20%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%20%20%E0%B8%9E.%E0%B8%A8.2551.pdf
Web Browser หมายถึงโปรแกรมใช้ในการแสดงผลภาษา HTML ให้แสดงในรูป World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer ฯลฯ
มาจากเว็บhttp://www.krumali.com/e-learning/word.html
HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการพัฒนา web page เพื่อให้โปรแกรม web brower ต่างๆ (Internet Explorer, Netscape, Opera) สามารถแปลงคำสั่ง แสดงผลในลักษณะของรูปภาพ ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว โดยไฟล์ที่สร้างจะมีนามสกุล .html หรือ .htm การสร้างและแก้ไขสามารถใช้โปรแกรม NotePad, WordPad ในวินโดวส์ ลักษณะของไฟล์จะเป็น Text ไฟล์ธรรมดา
มาจากเว็บhttp://www.it-guides.com/html/lesson01.html
FTP คืออะไร ?File Transfer Protocal : FTPFTP คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ FTP หมายถึง การดาวน์โหลด หรือย้ายไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันก็สามารถนำไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูลโดยผ่านโปรแกรม FTP สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายประเภทแล้วแต่ว่าผู้ใช้จะต้องการใช้งานไฟล์ประเภทใด จุดเด่นสามารถนำไปใช้รวมกับระบบการการทำเว็บไซต์ , เป็นช่องทางเก็บหรือส่งข้อมูลหาลูกค้าหรือภายในองค์กรได้ ที่ webmaster ใช้ นั่นคือ การ ftp อัพไฟล์ ขึ้นโฮส (host)เอฟทีพี (FTP) ย่อมาจากภาษาอังกฤษว่า File Transfer Protocal : FTP หมายถึง การดึงไฟล์จากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราหรือของผู้ใช้คนอื่น โดยปกติการดึงไฟล์จากอินเทอร์เน็ต เราจะต้องติดต่อไปยังผู้ให้บริการ ซึ่งเรียกว่า เอฟทีพีไซต์ (FTP Site) เอฟทีพีไซต์ที่สำคัญในอดีตจะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล หรือมหาวิทยาลัย
FTP เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory ใน Server
เอฟทีพีมีอยู่ 2 ประเภทFTP ประเภท ที่ 1 คือ ไพรเวทเอฟทีพี (Private FTP) หรือเอฟทีพีเฉพาะกลุ่ม นิยมใช้ตามสถานศึกษาและภายในบริษัท ผู้ใช้บริการจะต้องมีรหัสผ่านเฉพาะจึงจะใช้งานได้FTP ประเภทที่2 คือ อะโนนีมัสเอฟทีพี (Anonymous FTP) เป็นเอฟทีพีสาธารณะให้บริการดึงไฟล์ฟรีโดยไม่ต้องมีรหัสผ่าน เราสามารถติดต่อเว็บไซต์เหล่านี้ได้โดยผ่านเว็บเบราเซอร์ ซึ่งปัจจุบันเว็บไซต์สาธารณะมีอยู่เป็นจำนวนมาก การใช้เอฟทีพีมีจุดมุ่งหมายหลักก็คือ การนำเอาไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน ข้อมูลเหล่านั้นอาจเป็นข้อมูลตัวหนังสือ รูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือโปรแกรมสำเร็จรูป โดยเฉพาะโปรแกรมใหม่ๆ ที่บริษัทต่างๆ คิดค้นขึ้นมาและต้องการเผยแพร่ไปสู่สาธารณชน ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนใดที่สนใจก็สามารถใช้เอฟทีพีดึงเอาโปรแกรมเหล่านั้นมาใช้งานได้ประเภทของแฟ้มข้อมูล ไฟล์ที่เราสามารถดึงมาใช้งานได้นั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
- ไฟล์ข้อความ (Text File) เป็นไฟล์ที่แพร่หลายมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต โดยจะบรรจุข้อความตัวอักษรภาษาต่างๆ เช่น ไทย อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ เป็นต้น ปัจจุบันเวิลด์ไวด์เว็บนิยมใช้ไฟล์ข้อความมาก เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อีเมล์ เป็นต้น การสังเกตไฟล์ข้อความดูได้จากนามสกุล คือ .txt , .doc , .html เป็นต้น การดึงไฟล์ข้อความจากอินเทอร์เน็ตทำได้ง่าย ใช้เวลาน้อย เพราะมีขนาดไม่ใหญ่มาก- ไฟล์ภาพ (Graphics) เป็นภาพประกอบบนเว็บเพจ นิยมใช้กันมากรองจากไฟล์ข้อความ โดยปกติไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่ การดึงไฟล์จึงต้องใช้เวลานานกว่าปกติ ตัวอย่างไฟล์สังเกตได้จากนามสกุลไฟล์ เช่น .bmp , .jpg , .gif เป็นต้น- ไฟล์เสียง ไฟล์เสียงได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะไฟล์เสียงจาก real Audio ที่ให้เสียงต่อเนื่องเหมืนฟังรายการเพลงจากวิทยุทั่วไป และไฟล์ประเภท Mp3 ซึ่งเป็นเพลงต่างๆ ทั้งภาาาไทยและภาษาอังกฤษ ไฟล์เสียงที่นิยมใช้ประกอบในหน้าเว็บเพจ ตัวอย่างไฟล์เสียง เช่น .au , .ra , .ram , .wav เป็นต้น- ไฟล์เสียง ไฟล์เสียงได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะไฟล์เสียงจาก real Audio ที่ให้เสียงต่อเนื่องเหมืนฟังรายการเพลงจากวิทยุทั่วไป และไฟล์ประเภท Mp3 ซึ่งเป็นเพลงต่างๆ ทั้งภาาาไทยและภาษาอังกฤษ ไฟล์เสียงที่นิยมใช้ประกอบในหน้าเว็บเพจ ตัวอย่างไฟล์เสียง เช่น .au , .ra , .ram , .wav เป็นต้น- ไฟล์เสียง ไฟล์เสียงได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับโดยเฉพาะไฟล์เสียงจาก real Audio ที่ให้เสียงต่อเนื่องเหมืนฟังรายการเพลงจากวิทยุทั่วไป และไฟล์ประเภท Mp3 ซึ่งเป็นเพลงต่างๆ ทั้งภาาาไทยและภาษาอังกฤษ ไฟล์เสียงที่นิยมใช้ประกอบในหน้าเว็บเพจ ตัวอย่างไฟล์เสียง เช่น .au , .ra , .ram , .wav เป็นต้น
สรุป สั้น ว่า FTP คืออะไรFTP คือFTP เป็นการ upload/download หรือดูโครงสร้างของไฟล์และ directory ใน Server
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocal เป็น Protocal ที่ใช้ ในการส่งไฟส์ เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดย ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูก การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม anonymous ปัจจุบันการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTP และ ของฟรี FTP Open Source ที่ใช้กันบ่อย Filezilla
การแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ FTP หมายถึง การดาวน์โหลด หรือย้ายไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันก็สามารถนำไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูลโดยผ่านโปรแกรม FTP สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายประเภทแล้วแต่ว่าผู้ใช้จะต้องการใช้งานไฟล์ประเภทใด จุดเด่นสามารถนำไปใช้รวมกับระบบการการทำเว็บไซต์ , เป็นช่องทางเก็บหรือส่งข้อมูลหาลูกค้าหรือภายในองค์กรได้
มาจากเว็บhttp://www.host-domain.info/ftp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-ftp-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87-file-transfer-protocal.html
ความหมายของ Web Server คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงทำหน้าที่เป็น Server ให้บริการ World Wide Web (WWW) หรือที่รู้จักกันว่าHomepage Web server คือ บริการ HTTP (Hyper Text Transfer Protocol) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูล ทั้งภาพ และเสียง จากเครื่องบริการ ผ่าน Browser เช่นบริการ http://www.tutor-tan.com หรือ http://localhost เป็นต้น เครื่องบริการ ที่รองรับคำร้องขอจาก Web Browser ข้อมูลที่จะส่งไปอาจเป็นเว็บเพ็จ ภาพ หรือ เสียง เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่ได้รับความนิยม ให้นำมาเปิดบริการ Web คือ Apache Web Server หรือ Microsoft Web Server
มาจากเว็บhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=chanthira&month=01-2008&date=17&group=1&gblog=36
ชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ
เช่นเว็บไซต์ของสคูลเน็ต มีหมายเลข IP คือ 203.185.64.4 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.school.net.th ซึ่งก็คือ "ชื่อโดเมน" นั่นเอง
ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Server
ชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center"
Top level domain มีหน่วยงานที่ดูแลคือ INTERNIC (International Network Information Center) ซึ่งได้แบ่ง Top level domain ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ - Generic Domain คือกลุ่มโดเมนที่อยู่ในอเมริกา (เนื่องจากระบบนี้เริ่มพัฒนาขึ้นใช้ในอเมริกา แต่ต่อมาได้ขยายสู่ทั่วโลก) โดเมนเหล่านี้จะบ่งบอกถึงลักษณะการดำเนินการขององค์กร คือ
ชื่อย่อโดเมน
ประเภทขององค์กรในสหรัฐอเมริกา
com
commercial, company : สำหรับบริษัททั่วๆ ไป
edu
educational institution : สำหรับสถาบันการศึกษา
gov
government : สำหรับหน่วยงานของรัฐบาล
int
international : สำหรับองค์กรระหว่างประเทศ
mil
military : สำหรับหน่วยงานทหาร
net
service provider, network : สำหรับองค์กรที่ดำเนินงานด้านเครือข่าย
org
nonprofit organization : สำหรับองค์กรอื่น ๆ

- Country Domain คือกลุ่มของโดเมนที่เป็นชื่อย่อของแต่ละประเทศ เช่น uk คือโดเมนสำหรับ อังกฤษ และ .jp คือ โดเมนสำหรับญี่ปุ่น หรือ th สำหรับประเทศไทย ในแต่ละประเทศก็จะมีหน่วยงานจัดการโดเมนภายใต้โดเมนประเทศตน สำหรับโดเมน th ก็จะมี THNIC (Thailand Network Information Center)เป็นผู้ดูแล

.ac
Ascension Island
.ad
Andorra
.ae
United Arab Emirates
.af
Afghanistan
.ag
Antigua and Barbuda
.ai
Anguilla
.al
Albania
.am
Armenia
.an
Netherlands Antilles
.ao
Angola
.aq
Antarctica
.ar
Argentina
.as
American Samoa
.at
Austria
.au
Australia
.aw
Aruba
.az
Azerbaijan
มาจากเว็บhttp://www.kemapat.ac.th/domain.htm

หลักการออกแบบเว็บเพจ

ในเว็บเพจหนึ่งหน้าควรมีการแบ่งลำดับขั้นความสำคัญของส่วนประกอบต่างให้เป็นลำดับขั้นว่าสิ่งใดสำคัญมากหรือน้อยกว่าสิ่งใด เพื่อการออกแบบจะได้เน้นให้ผู้ใช้สังเกตและเข้าถึงสิ่งที่เราต้องการเน้นได้ง่าย ในทางปฏิบัติการเน้นความสำคัญของส่วนประกอบอาจทำได้โดย
ใช้การจัดวางตำแหน่งและลำดับ
สิ่งสำคัญควรปรากฏด้านบนสุด และตามด้วยสิ่งที่รองลงมา หรือสิ่งที่สำคัญกว่าอยู่ทางด้านซ้ายสุดแล้วตามด้วยสิ่งที่รองลงมา
ใช้การกำหนดขนาด
สิ่งที่สำคัญกว่าควรมีขนาดใหญ่กว่าสิ่งที่สำคัญรองลงมา
สีและความแตกต่างของสี
ใช้สีในการแยกความแตกต่างของส่วนประกอบต่างๆ เช่นหัวข้อใช้สีแบบหนึ่ง ส่วนที่เป็นเนื้อหาก็ใช้สีที่แตกต่างกัน
ภาพเคลื่อนไหว
ใช้ภาพเคลื่อนไหวเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ว่าส่วนนั้นเป็นจุดเน้น
การออกแบบเว็บให้เหมาะสมกับเนื้อหา [กลับไปด้านบน]
รูปแบบของเว็บควรจะมีความสอดคล้องกับเนื้อหา เพื่อช่วยในการสื่อความหมายถึงเนื้อหาและช่วยในการสื่อสารกับผู้ใช้ ทำให้ผู้ใช้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้สร้างเว็บต้องการสื่อออกมา สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือ
รูปแบบ – เราควรเลือกรูปแบบเว็บให้เหมาะสมกับเนื้อหาเช่นถ้าทำเว็บไซต์เกี่ยวกับรถยนต์อาจจำลองหน้าเว็บเหมือนกับนั่งอยู่ในรถ
บุคลิก – บุคลิกของเว็บไซต์เช่น เราอาจสร้างเว็บที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน เป็นกันเอง วิชาการ ทันสมัย ลึกลับ หรืออื่นๆ ทั้งนี้การกำหนดบุคลิกจะขึ้นอยู่กับการใช้คำ การใช้กราฟิก เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเหมือนกันแต่บุคลิกต่างกัน จะให้ความรู้สึกกับผู้ใช้ต่างกันด้วย
สไตล์ – หมายถึงลักษณะการจัดโครงสร้าง ชนิดตัวอักษรที่ใช้ ชุดสีที่ใช้ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อหาด้วยควรมีความสม่ำเสมอตลอดทั้งเว็บไซต์ [กลับไปด้านบน]
คือการออกแบบให้เนื้อหาแต่ละหน้าของเว็บมีรูปแบบที่เหมือนกัน เช่น มีการจัดวางองค์ประกอบเดียวกันที่ตำแหน่งเดียวกันทุกหน้า เพื่อทำให้ผู้ใช้มีความรู้สึกว่ายังอยู่ที่เว็บไซต์เดิม ปัญหาที่พบบ่อยคือบางเว็บไซต์ออกแบบแต่ละหน้าแตกต่างกันมากจนทำให้ผู้ใช้สับสนว่ายังอยู่ในเว็บไซต์เดิมหรือไม่ แต่ปัญหาอีกอย่างของการออกแบบที่สม่ำเสมอคืออาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกจำเจกับลักษณะเดิมๆ ซึ่งอาจแก้ไขโดยการเปลี่ยนชุดสีของเนื้อหาแต่ละส่วนจัดวางส่วนประกอบให้เป็นระเบียบ [กลับไปด้านบน]
เนื้อหาของเว็บซึ่งประกอบด้วยรูปภาพและตัวอักษรควรมีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ แบ่งแยกเป็นสัดส่วน ทำให้ผู้ใช้มองและอ่านข้อความได้สะดวก สำหรับข้อความที่ยาวมากๆ อาจแบ่งให้ผู้ใช้เห็นทีละส่วน เมื่ออ่านจบส่วนแรกจึง ไปอ่านยังส่วนต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดความล้าและเบื่อหน่ายใช้รูปภาพประกอบอย่างเหมาะสม [กลับไปด้านบน]
การใช้ภาพประกอบเป็นสื่อที่ให้ความหมายได้ดีกว่าตัวอักษร แต่สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงคือภาพที่นำมาใช้นั้นต้องมีความหมายตรงกับเนื้อหา มีความเข้ากันได้กับสไตล์ของเว็บ ขนาดของภาพที่นำมาใช้ไม่ควรใหญ่มาก และไม่ควรใช้มากเกินไป
คำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการใช้งาน [กลับไปด้านบน]ระบบปฏิบัติการ – ระบบปฏิบัติการที่ต่างกันจะส่งผลให้การแสดงเว็บเพจต่อผู้ใช้แตกต่างกันไปด้วย เราควรสำรวจว่าผู้ใช้ของเราใช้ระบบปฏิบัติการใดบ้าง แล้วจึงทำการออกแบบให้รองรับการทำงานของระบบปฏิบัติการเหล่านั้นทั้งหมด
ความละเอียดหน้าจอ – เนื่องจากผู้ใช้สามารถกำหนดความละเอียดในการแสดงผลหน้าจอของตนเองได้จึงทำให้การแสดงผลเว็บของเราอาจไม่ตรงตามที่เราต้องการให้ผู้ใช้เห็น ดังนั้นการออกแบบของเราควรรองรับความละเอียดหน้าจอที่ผู้ใช้ทั่วไปใช้ (800 x 600) หรืออาจมีข้อความแนะนำว่าควรใช้ความละเอียดระดับไหนในการเข้าชม
Browser – Browser แต่ละชนิดอาจจะแสดงผลเว็บเดียวกันไม่เหมือนกันทั้งนี้เนื่องจากการแปลชุดภาษา HTML ที่ต่างกันดังนั้นในการออกแบบเราควรกำหนดว่าเราจะออกแบบให้ทำงานกับ Browser อะไร รุ่นไหน เพื่อให้เราทราบข้อกำหนดว่าเราจะสามารถใช้ลูกเล่นอะไรได้บ้างจึงจะทำให้เว็บทำงานกับ Browser ที่กำหนดได้สมบูรณ์ และแจ้งให้ผู้ใช้ทราบก่อนเข้าชม
การแสดงภาษาและการเลือกตัวอักษร – ปกติการแสดงตัวอักษรในเว็บเพจนั้นผู้ออกแบบสามารถกำหนดรูปแบบของตัวอักษรให้กับข้อความต่างๆได้อย่างอิสระ แต่ในขณะที่เว็บแสดงต่อผู้ใช้นั้นถ้าผู้ใช้ไม่มีตัวชุดอักษรในรูปแบบที่เรากำหนดในเว็บเพจผู้ใช้จะไม่สามารถอ่านข้อความเหล่านั้นได้เลย โดยเฉพาะการทำเว็บที่ใช้ภาษาไทยเราจึงควรระวังเป็นอย่างยิ่ง วิธีการที่นิยมคือการเลือกใช้รูปแบบอักษรที่คาดว่าจะมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ทุกคนเช่น Ms Sans Serif สำหรับภาษาไทย หรือ Times New Roman สำหรับภาษาอังกฤษเป็นต้น
มาจากเว้บ http://ae108.tripod.com/DesignConcept.htm

web 2



Web 2.0 คิดว่าหลายๆคนคงเคยได้เห็น Web 2.0 บน Internet กันมาสักพักนึงแล้ว บางคนคงส่งสัยว่ามันคืออะไร หลายๆคนคิดว่าคงเป็นมาตรฐานใหม่ และมีอีกไม่น้อยที่คิดว่ามันคือ Software รุ่นใหม่จาก Microsoft หรือ Google แต่จริงๆแล้ว Web 2.0 ไม่ได้เป็นอะไรใหม่ไปกว่าปัจจุบัน แต่มันเป็นยุคสมัยที่เปลี่ยนไปต่างหาก ปัจจุบันวิถีการใช้ Internet ของชาว Cyber เปลี่ยนไปจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามาก เมื่อก่อน(ก็แค่ 2-3 ปีที่แล้ว) เรารู้จักที่จะใช้ Internet เพื่อ ส่ง Email, คุยกับเพื่อนด้วย Chat Room หรือ IM, Download โปรแกรมใหม่, Search หาข้อมูล, แลกเปลี่ยนความเห็นที่ Web Board, อ่านข่าว ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือ Feature หลักๆที่เราใช้งาน แต่ลองมาคิดถึงปัจจุบันเรากลับใช้ Internet เพื่อ เขียน BLOG, แชร์ Photo, ร่วมเขียน Wiki, Post Commment ในข่าว, หาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่ Desktop, และ Google จะเห็นได้ว่าวิถีการใช้ชีวิตบน Internet ของชาว Cyber เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว "ตอนนี้ฉันเลิกดู TV มาได้เดือนครึ่งแล้ว และถ้าฉันไม่ต้องกิน เข้าห้องน้ำ หรือมี Sex บางทีฉันอาจจะไม่จำเป็นต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริงอีกต่อไป" นี่เป็นคำพูดใน Blog ของ Daneane Gallardo คำกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง รวมถึงพฤติกรรมการใช้ Internet ได้เป็นอย่างดี และนี่เป็นที่มาของ Web 2.0 หรือยุคใหม่ของ Internet ที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิง จาก Web 2.0 Conference ครั้งที่ผ่านมา ได้มีการวาด Mime Map ขึ้นมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่ Web 2.0 ได้อย่างชัดเจนจากนวตกรรมใหม่ๆ และแนวคิดที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ เราจึงได้รู้จัก Concept ของ Blog, tags, Ajax, podcasts เชื่อหรือไม่ concept เหล่านี้พึ่งเกิดขึ้นได้ไม่ถึงปี!! พฤติกรรมการใช้ internet ทำให้คำว่า Web ไม่ใช่แค่ Noun อีกต่อไป แต่มันเป็น Verb เสียแล้ว เป็นการติดต่อ 2 ทาง และผู้ใช้เองนั่นและเป็นผู้สร้าง Content ไม่ใช่ Content Provider อีกต่อไปกลับมามองที่ประเทศไทยเราบ้าง ประเทศไทยของเราตอนนี้เข้ามาถึงยุคของ Web 2.0 แล้วหรือยัง ถ้ามองที่ผู้ใช้ในความเห็นผม ถือว่าเราได้อยู่ใน Web 2.0 แล้ว ดูได้จากจำนวน Blog ที่เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา หรือ Photo Sharing ที่นับวันจะมีการแชร์รูปกันมากขึ้น และการแสดงความคิดเห็นตาม Content หรือ Web board ต่างๆ เห็นได้จาก Manager Online แต่หากกลับมามองที่เทคโนโลยีละ เราถึง Web 2.0 แล้วหรือยัง ... ในมุมมองของผมคือ ยัง ไม่ว่าจะทั้งทางด้านเทคโนโลยี การประยุกต์ใช้ Concept และแนวคิดต่างๆ เรายังมีให้เห็นน้อยมาก การใช้เทคนิคเช่น CSS Layout หรือ Ajax มีให้เห็นน้อยมาก หรือไม่มีเลย แนวคิดเรื่อง Tags, Podcasts ก็ไม่มีอีกเช่นกัน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะร่วมกันพัฒนา Web Site ของเมืองไทยเรา ให้ตรงกับความต้องการกับผู้ใช้ในประเทศ ที่ TrueLife ผมพยายามนำ Concept และแนวคิด Web2.0 มาใช้ให้มากที่สุด ทั้งที่ทำออกไปแล้ว หรือที่กำลังพัฒนาอยู่ตอนนี้ ที่ Exteen.com ก็เป็นอีกที่หนึ่งที่ผมเฝ้าดูความพยายามอยู่เช่นกัน ผมหวังว่าพวกเราที่ Narisa.com ชุมชนของ Developer ที่แข็งแกร่งที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย จะได้ร่วมใจกันพัฒนานำทั้งเทคโนโลยี และแนวคิดใหม่ๆของ Web2.0 มาใช้ให้เกิดประโยชน์กัน และถ้าเป็นไปได้ ก็สร้างนวตกรรมใหม่ๆขึ้นมา อย่างคำว่า white board ที่มีการกล่าวถึงใน Forum ของพวกเรา ก็เป็น concept ที่ดี ผมอยากจะสนับสนุนให้มีแนวคิดใหม่ๆแบบนี้อยู่เสมอ ผมอยากให้พวกเรามีส่วนร่วมกับประวัตศาสตร์ใหม่ที่กำลังจะมาถึงอันใกล้ ไม่ใช่รับมาแต่จากเมืองนอกอย่างเดียว พวกเรามาช่วยกันพัฒนาวงการซอฟแวร์ไทยให้ก้าวสู่ web2.0 ด้วยกันเถอะครับ และถ้าให้ดีกว่านั้น ถ้าเราสามารถก้าวแซงไปที่ web2.1 ได้ยิ่งดีครับ=======================================================ปัจจุบันผมไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ TrueLife มาตั้งแต่ต้นปี 2006 อีกทั้งตอนนี้ WebTrueLife ได้เดินไปในเส้นทางที่ผิดกับความมุ่งหวังและแนวคิดของผมและทีมงานไปมากรู้สึกเสียดาย และรู้สึกผิดหวังกับแนวทางที่มุ่งเน้นแสวงหากำไร มากกว่าพัฒนาสังคมอยู่พอควรแต่ในเมื่อเราไม่สามารถรับผิดชอบอะไรได้อีก จึงต้องขออภัยมาในที่นี้ด้วยที่ไม่สามารถทำ TrueLife ให้เป็นไปอย่างที่คาดหวังดังเดิมลาก่อน TrueLife หวังว่าคงจะพบเส้นทางใหม่ที่ดี ถึงแม้จะไม่ใช่เส้นทางที่พวกผมเคยวาดฝันไว้ก็ตาม