ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ
การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจ
การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ข้อมูลที่จะใช้นำเสนอในเอกสารเว็บ ความพึงพอใจของผู้ที่ทำการสร้าง ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องการให้เป็นผู้อ่านเอกสารเว็บเหล่านั้น และควรออกแบบให้มีลูกเล่นที่หลากหลาย มีสีสันสดใสเป็นที่น่าสนใจ การออกแบบและพัฒนาเว็บเพจนั้นควรมีการวางแผนก่อนการพัฒนาเสมอ เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นระบบที่หลากหลาย
ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ
ลำดับขั้นตอนสำหรับการพัฒนาเว็บเพจ สามารถจำแนกเป็นลำดับขั้นตอนได้ดังนี้
1. การวางแผนพัฒนาเว็บเพจ
2. กำหนดโฟรเดอร์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเว็บเพจ
3. จัดหาภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและจัดเก็บไว้ในโฟร์เดอร์ที่กำหนดไว้
4. สร้างเอกสารเว็บโดยกำหนดชื่อของแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บให้เป็นไปตามข้อกำหนดและ
จัดเก็บเอกสารไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้กำหนดไว้
5. ตรวจสอบผลเอกสารเว็บผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
6. ข้อมูลขึ้นไปเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย Server และทำการตรวจสอบผลการ
เรียกดูเอกสารเว็บที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนการออกแบบเว็บเพจ
การสร้างเว็บเพจ จำเป็นต้องผ่านกระบวนการออกแบบให้ดีก่อน นอกจากความสวยงามแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
1. มีสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการ
3. เนื้อหากระชับ สั้น ทันสมัย
4. สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ทันท่วงที
5. มีรูปภาพประกอบการนำเสนอที่ดี ไม่ควรมีรูปภาพมากเกินไป
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
7. ใช้งานง่าย
8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน
การวางแผนพัฒนาเว็บเพจ
การวางแผนพัฒนาเว็บเพจนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญตอนหนึ่ง เนื่องจากเอกสารเว็บที่สร้างขึ้นนั้นจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีจุดเชื่อมโยง Link เป็นจำนวนมาก หาก ไม่มีการวางแผนไว้ก่อนจะทำให้การปรับปรุงและพัฒนาในภายหลังเกิดปัญหาขึ้นได้ง่าย ตัวอย่างงเช่นแฟ้มข้อมูลมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถจดจำชื่อของแฟ้มข้อมูลที่เคยสร้างไว้แล้วได้ ซึ่งจะส่งผลให้การทำการเชื่อมโยงเอกสารเกิดปัญหาขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวนี้ควรมีการวางแผนและออกแบบเอกสารเว็บบนกระดาษ และทำการกำหนดชื่อแฟ้มข้อมูล ของแต่ละเอกสารเว็บให้ เรียบร้อย จะทำให้ผู้ที่ทำการสร้างเว็บเพจสามารถมองเห็นภาพ การไหลของข้อมูล Data Flow ภายในเว็บเพจได้ชัดเจน และสามารถทำการพิจารณา ต่อได้วว่าเอกสารเว็บแต่ละแฟ้มข้อมูลนั้นมีความสัมพันธ์กับเอกสารอื่น และสัมพัมพันธ์กับแฟ้มข้อมูลเอกสารเว็บ
ลักษณะโครงสร้างของเว็บเพจ
1. แบบลำดับชั้น เป็นการจัดแสดงหน้างเอกสารเว็บในลักษณะเรียงลำดับกันเป็นกิ่งก้าน
เหมือนกับต้นไม้
2. แบบเชิงเส้น เป็นการจัดแสดงหน้าเอกสารเว็บ โดยเรียงต่อเนื่องกันในทางเดียวกัน
3. แบบผสม เป็นการจัดเรียงหน้าของเอกสารเว็บโดยการผสมผสานระหว่างแบบลำดับชั้น
และแบบเชิงเส้นทั้งนี้ขึ้นอยู่กันผู้ที่ออกแบบเว็บเพจ
การวางแผนสร้างเว็บเพจ
1. ควรมีรายการสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
การเข้ามาในเว็บเพจนั้นเปรียบเสมือนการอ่านหนังสือ วารสารหรือตำราเล่มหนึ่ง การที่ผู้ใช้จะเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ ผู้สร้างควรแสดงรายการทั้งหมดที่เว็บเพจนั้นมีอยู่ให้ผู้ใช้ทราบ โดยอาจจะทำอยู่ในรูปแบบของสารบัญ หรือการเชื่อมโยง การสร้างสารบัญนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลภายในเว็บเพจได้อย่างรวดเร็ว
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด
การสร้างจุดเชื่อมโยง นั้นสามารถจัดทำในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพก็ได้ แต่ควรที่จะแสดงจุดเชื่อมโยงให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย และที่นิยมสร้างกันนั้น โดยส่วนใหญ่เมื่อมีเนื้อหาตอนใดเอ่ยถึงส่วนที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวเนื่องกันก็จะสร้างเป็นจุดเชื่อมโยงทันที นอกจากนี้ ในแต่ละเว็บเพจ ที่สร้างขึ้นมาควรมีจุดเชื่อมโยงกลับมายังหน้าแรกของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่ด้วย ทั้งนี้เผื่อว่าผู้ใช้เกิดหลงทางและไม่ทราบว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี จะได้มีหนทางกลับมาสู่จุดเริ่มต้นใหม่
3. เนื้อหากระชับ สั้นและทันสมัย
เนื้อหาที่นำเสนอกับผู้ใช้ควรเป็นเรื่องที่กำลังมีความสำคัญ อยู่ในความสนใจของผู้คนหรือเป็นเรื่องที่ต้องการให้ผู้ใช้ทราบ และควรปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
4. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
ควรกำหนดจุดที่ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำกับผู้สร้างได้ เช่น ใส่อีเมล ของผู้ทำ ลงในเว็บเพจ โดยตำแหน่งที่เขียนควรเป็นที่ส่วนบนสุดหรือส่วนล่างสุดของเว็บเพจนั้นๆ ไม่ควรเขียนแทรกไว้ที่ตำแหน่งใดๆ ของจอภาพ เพราะผู้ใช้อาจจะหาไม่พบก็ได้
5. การใส่ภาพประกอบ
ควรใช้รูปภาพที่สามารถสื่อความหมายกับผู้ใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้รูปภาพเพื่อเป็นพื้นหลัง ไม่ควรเน้นสีสันที่ฉูดฉาดมากนัก เพราะอาจจะไปลดความเด่นชัดของเนื้อหา ควรใช้ภาพที่มีสีอ่อนๆ ไม่สว่างจนเกินไป ตัวอักษรที่นำมาแสดงบนจอภาพก็เช่นเดียวกัน ควรเลือกขนาดที่อ่านง่าย ไม่มีสีสันและลวดลายมากเกินความจำเป็น และที่สำคัญไม่ควรมีขนาดใหญ่หรือมีจำนวนมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เนื้อหาสาระของเว็บเพจนั้นถูกลดความสำคัญลง
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
การสร้างเว็บเพจนั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดก็คือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เข้ามาชมและใช้บริการของเว็บเพจที่สร้างขึ้น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจนย่อมทำให้ผู้สร้างสามารถกำหนดเนื้อหา และเรื่องราวเพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้มากกว่า
7. ใช้งานง่าย
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของการสร้างเว็บเพจคือ จะต้องใช้งานง่าย เนื่องจากอะไรก็ตามถ้ามีความง่ายในการใช้งานแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมสูงขึ้นตามลำดับ และการสร้างเว็บเพจ ให้ง่ายต่อการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ของผู้สร้างแต่ละคน
8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน
เว็บเพจที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น อาจจะมีจำนวนข้อมูลมากมายหลายหน้า การทำให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความสับสนกับข้อมูลนั้น จำเป็นต้องกำหนดข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ไป หรือจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบน่าใช้งาน
ที่มาhttp://anntaro.blogspot.com/2008/10/blog-post_9468.htmlhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=187783http://www.pm.ac.th/vrj/web/disign.htm
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น